เรียนที่ SCI-TU

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาชาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพและเกษตร

ภาษาไทยและอังกฤษ ภาคปกติ
ระยะเวลา:
   หลักสูตรระดับปริญญาเอก ศึกษา 3 ปี
   หลักสูตรระดับปริญญาเอก ศึกษา 4 ปี
(กรณีหลักสูตรโท-เอก ต่อเนื่อง)

จำนวนรับเข้า: 4 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตหรือวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรอง
  • มีผลการสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย

    จำนวนหน่วยกิต:

    • แบบ 1.1) ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จชั้นปริญญาโท ไม่น้อยกว่า    48 หน่วยกิต
    • แบบ 2.1) ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จชั้นปริญญาโท ไม่น้อยกว่า    48 หน่วยกิต
    • แบบ 2.2) ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จชั้นปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า    73 หน่วยกิต

    เวลาเรียน:

    วันเวลาราชการปกติ

    สถานที่ศึกษา:

    คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

    ติดต่อหลักสูตร:

      02-564-4440 ต่อ 2452
      https://biot.sci.tu.ac.th

    รายละเอียดหลักสูตร (ณ ปัจจุบัน):

    รายละเอียดหลักสูตร (ก่อนหน้า):

    หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพและเกษตร ผลิตดุษฏีบัณฑิตที่มีคุณธรรมและจริยธรรมให้มีความรู้ ความสามารถ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีทักษะ และกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นต่อการศึกษา ค้นคว้า วิจัยหาองค์ความรู้ใหม่ และสามารถนำความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพและเกษตรไปประยุกต์ได้อย่างเหมาะสมตามสภาวะของประเทศ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

    คำอธิบายหลักสูตร

    หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพและเกษตร มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะและ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นต่อการศึกษาค้นคว้าทางเทคโนโลยีชีวภาพและเกษตร โดยสามารถค้นคว้าหรือวจิยัหาองค์ความรู้ ใหม่และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพและเกษตรได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีคุณธรรมและจริยธรรม

    ตัวอย่างรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ได้แก่

    • ชีววิทยาโมเลกุลพืช
    • การวิเคราะห์จีโนม
    • ไวรัสวิทยาขั้นสูง
    • เทคโนโลยียีน
    • วิศวกรรมโปรตีน
    • นาโนเทคโนโลยีชีวภาพชั้นสูง
    • ชีววิทยาแปรรูป
    • แพลงก์ตอนและการประยุกต์
    • กฏหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีชีวภาพ

    ตัวอย่างรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ได้แก่

    • สรีรวิทยาของพืชและการปรับตัว
    • เทคโนโลยีการผลิตพืชเขตร้อนเชิงเศรษฐกิจ
    • การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชิงพาณิชย์
    • การปรับปรุงพันธุ์พืชชั้นสูง
    • การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ชั้นสูง
    • บรรจุภัณฑ์แบบฉลาดสำหรับผลิตผลสด
    • ไมคอร์ไรซา
    • การวิจัยและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

    กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

    • อาจารย์ในสถาบันการศึกษา
    • นักวิจัย นวัตกร นักปรับปรุงพันธุ์ นักวิทยาศาสตร์
    • นักวิชาการตามสถาบันวิจัย หน่วยราชการ และภาคอุตสาหกรรม
    • พนักงานราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
    • ผู้ประกอบการ/เจ้าของกิจการด้านเทคโนโลยีชีวภาพและเกษตร
    • พนักงานฝ่ายวางแผนและควบคุมการผลิต
    • พนักงานฝ่ายควบคุมและประกันคุณภาพ
    • ที่ปรึกษาโครงการหรือธุรกิจ

    พัฒนาองค์ความรู้และเป็นประโยชน์ในการพัฒนาสังคม
    ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพและเกษตร