เรียนที่ SCI-TU

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ

ภาษาไทย
ระยะเวลา: 2-5 ปี
การรับเข้า:  มีการเปิดรับสมัครทุกภาคการศึกษา

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรอง 
  • มีผลการสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย

จำนวนหน่วยกิต:

  • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า    38 หน่วยกิต
    • วิชาบังคับ                               11 หน่วยกิต 
    • วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า            12 หน่วยกิต
    • วิทยานิพนธ์                            15 หน่วยกิต

เวลาเรียน:

  • เรียนในเวลาราชการปกติ (วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08:30-16:30น.)

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

 02-564-4440 ต่อ 2452
https://biot.sci.tu.ac.th/
  Biotech.Thammasat

รายละเอียดหลักสูตร:

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563 (ปัจจุบัน)
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มุ่งเน้นการผลิตมหาบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ โดดเด่นทางด้านวิชาการด้วยการเรียนการสอนเกี่ยวกับเทคนิคและเครื่องมือทางเทคโนโลยีชีวภาพ กระบวนทัศน์ทางเทคโนโลยีชีวภาพ มุ่งเน้นการวิจัยและทดลองใช้องค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ สร้างผู้เชี่ยวชาญที่รู้ทันต่อสถานการณ์โลก และเทคโนโลยีล้ำสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย ทั้งอาชีพในสายวิชาการและการวิจัย อาชีพในภาคอุตสาหกรรม

คำอธิบายหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวชิาเทคโนโลยีชีวภาพผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะและ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นต่อการศึกษาค้นคว้าทางเทคโนโลยีชีวภาพ โดยสามารถค้นคว้าหรือวจิยัหาองค์ความรู้ ใหม่และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีคุณธรรมและจริยธรรม

นอกจากการศึกษาด้านเทคนิคและเครื่องมือด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และระเบียบวิธีวิจัยแล้ว ยังมีวิชาเลือกที่น่าสนใจได้แก่

  • ชีววิทยาโมเลกุลพืช
  • การวิเคราะห์จีโนม
  • ไวรัสวิทยาขั้นสูง
  • เทคโนโลยียีน
  • วิศวกรรมโปรตีน
  • นาโนเทคโนโลยีชีวภาพชั้นสูง
  • ชีววิทยาแปรรูป
  • แพลงก์ตอนและการประยุกต์
  • กฏหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีชีวภาพ

ซึ่งเน้นไปที่การฝึกทักษะในการปฏิบัติงานจริง โดยมีคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญ พร้อมด้วยอุปกรณ์สนับสนุนการเรียนรู้ที่ทันสมัย ผู้ที่เลือกเรียนในหลักสูตรนี้ สามารถต่อยอดในสายอาชีพต่าง ๆ ได้จำนวนมาก 

การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพและเกษตร ที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธ. หรือสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

  • อาจารย์
  • นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยีชีวภาพโมเลกุล
  • นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ ด้านอุตสาหกรรมและการประกอบการ
  • พนักงานราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
  • ผู้ประกอบการ Startup

นวัตกรรมจากฐานชีวภาพ สู่การพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน