เรียนที่ SCI-TU
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาชาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
ภาษาไทยและอังกฤษ ภาคปกติ
ระยะเวลา: 3 ปี
จำนวนรับเข้า: 4 คน
คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่สภามหาวิทยาลัยให้การรับรอง
- สำหรับผู้เข้าศึกษาแบบ 1 (ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์)
มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.25 (ในระดับสูงสุด 4.00) - สำหรับผู้เข้าศึกษาแบบ 2 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)
มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00 (ในระดับสูงสุด 4.00) - มีผลการสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย
จำนวนหน่วยกิต:
- แบบ 1.1) ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จชั้นปริญญาโท ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
- แบบ 2.1) ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จชั้นปริญญาโท ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
- แบบ 2.2) ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จชั้นปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า 73 หน่วยกิต
เวลาเรียน:
วันเวลาราชการปกติ (วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08:30 – 16:30น.)
สถานที่ศึกษา:
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ติดต่อหลักสูตร:
02-564-4440 ต่อ 2452
https://biot.sci.tu.ac.th
Biotech.Thammasat
รายละเอียดหลักสูตร:
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาชาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ผลิตดุษฏีบัณฑิตที่มีความรู้เชิงลึก มีความสามารถ ทักษะ และกระบวนความคิดทางวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นต่อการศึกษาค้นคว้าทางเทคโนโลยีชีวภาพ โดยสามารถค้นคว้า วิจัย เพื่อหาองค์ความรู้ใหม่และประยุกต์เทคโนโลยีชีวภาพได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีคุณธรรมและจริยธรรม นำวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีชีวภาพสู่ชุมชน สร้างสังคมยั่งยืน
คำอธิบายหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะและ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นต่อการศึกษาค้นคว้าทางเทคโนโลยีชีวภาพ โดยสามารถค้นคว้าหรือวิจัยหาองค์ความรู้ ใหม่และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีคุณธรรมและจริยธรรม
ตัวอย่างรายวิชาเทคโนโลยีชีวภาพโมเลกุล ได้แก่
- ชีววิทยาเชิงคำนวณ
- เทคโนโลยียีน
- ชีวสารสนเทศศาสตร์
- ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพืชและจุลินทรีย์
- การวิเคราะห์จีโนม
- วิศวกรรมโปรตีน
- ชีววิทยาโมเลกุลยีสต์
- การวิเคราะห์ยีนและจีโนมชั้นสูง
ตัวอย่างรายวิชาอุตสาหกรรมและการประกอบการ ได้แก่
- วิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ
- การย่อยสลายและการฟื้นฟูทางชีวภาพ
- นาโนเทคโนโลยีชีวภาพชั้นสูง
- การถ่ายโอนเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมชีวภาพ
- เคมีไฟฟ้าทางเทคโนโลยีชีวภาพ
- ปฏิกิริยาเคมีชีวภาพและวิศวกรรมถังปฏิกรณ์
- นาโนเทคโนโลยีกับการประยุกต์ด้านเภสัชกรรม
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
- อาจารย์ในสถาบันการศึกษา
- นักวิจัย นวัตกร นักวิทยาศาสตร์
- นักวิชาการตามสถาบันวิจัย หน่วยราชการ และภาคอุตสาหกรรม
- พนักงานราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
- ผู้ประกอบการ/เจ้าของกิจการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
- พนักงานฝ่ายวางแผนและควบคุมการผลิต
- พนักงานฝ่ายควบคุมและประกันคุณภาพ
- ที่ปรึกษาโครงการหรือธุรกิจ
“พัฒนาองค์ความรู้และเป็นประโยชน์ในการพัฒนาสังคม
ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ“