เรียนที่ SCI-TU
วิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ
ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 80 คน
คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาต้องเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2561 ข้อ 14 ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้
- สำเร็จการศึกษาไม่ต่ากว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
- ไม่เป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่น เว้นแต่การศึกษาในมหาวิทยาลัยเปิด หรือการศึกษาหลักสูตรทางไกล (Online) ที่ได้รับปริญญา
- ไม่เป็นผู้ป่วยหรืออยู่ในสภาวะที่จะเป็นอุปสรรคร้ายแรงต่อการศึกษา
- ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดศีลธรรมอันดีหรือมีพฤติกรรมเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง
จำนวนหน่วยกิต:
- จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า 134 หน่วยกิต
- วิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
- วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 98 หน่วยกิต
- วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
สถานที่ศึกษา:
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ติดต่อหลักสูตร:
02-564-4440 ต่อ 2452
https://biot.sci.tu.ac.th
Biotech.Thammasat
รายละเอียดหลักสูตร:
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
“หลักสูตรที่เปิดโอกาสให้ คุณ ดีไซน์ความเป็นนักเทคโนโลยีชีวภาพในฉบับของตนเอง”
ใครที่ชื่นชอบทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ต้องถูกใจหลักสูตรนี้อย่างแน่นอน ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ วิศวกรรมชีวเคมี และชีวสารสนเทศศาสตร์ โดยเรียนรู้ถึงพื้นฐานของศาสตร์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพอย่างเข้มข้นเพื่อนำไปต่อยอดขั้นสูงต่อไป รายวิชาทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นอาชีพที่มีความต้องการสูงมากในทุกวงการ
คำอธิบายหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ จัดการเรียนรู้ถึงพื้นฐานของศาสตร์ด้านชีววิทยา อันได้แก่ จุลชีววิทยา พันธุศาสตร์ เคมีอินทรีย์ ชีวเคมี การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ชีววิทยาสิ่งแวดล้อม ชีวสารสนเทศศาตร์ และเทคโนโลยีชีวภาพในแนวกว้างอย่างเข้มข้นทั้งทฤษฏีและปฏิบัติ เพื่อสร้างพื้นฐานอันเข้มแข็งให้ผู้เรียนสามารถไปต่อยอดด้านเฉพาะทางในด้านต่างๆ นอกจากนี้การฝึกฝนวิธีคิดอย่างเป็นวิทยาศาสตร์นั้น สามารถประยุกต์ใช้งานได้กับศาสตร์ต่างๆ ทุกขแนงในโลกยุคปัจจุบัน
หลักสูตรนี้ ผู้เรียนยังมีอิสระในการออกแบบวิชาเลือกเฉพาะทางเหล่านี้ได้ตามความเชี่ยวชาญ หรือความสนใจ โดยเนื้อหาทั้งหมดนี้ล้วนเป็นทักษะที่ทุกองค์กรขนาดใหญ่จำเป็นต้องใช้ รวมไปถึงการสร้างงานวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง ซึ่งผู้เรียนซึ่งอยากเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นก็สามารถเลือกเรียนหลักสูตรนี้ได้เช่นเดียวกัน
การฝึกงาน
นักศึกษาสามารถฝึกงาน ในองค์กรชั้นนำต่างๆ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ (การฝึกงานเริ่มต้นในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3 และสิ้นสุดก่อนภาคเรียนแรกของชั้นปีที่ 4)
การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. หรือสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
- อาจารย์ทั้งในหน่วยงานราชการและเอกชน
- นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และผู้ช่วยวิจัยทั้งในหน่วยงานราชการและเอกชน
- นักวิเคราะห์ข้อมูลทางชีวภาพ ข้อมูลทางการแพทย์ และข้อมูลทั่วไป
- ผู้ควบคุม ดูแลข้อมูล ประมวลผลข้อมูลทางชีวภาพและข้อมูลทั่วไปทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน
- พนักงานราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
- นักนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
- ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
- นักออกแบบยา ผลิตภัณฑ์เวชแพทย์ด้านโปรตีน และสารจากสิ่งมีชีวิต
- ฝ่ายควบคุมการผลิต ฝ่ายตรวจคุณภาพสินค้า หรือผู้แทนขายอุปกรณ์และสารเคมีทางเทคโนโลยีชีวภาพ ในสถานประกอบการต่าง ๆ
- อาชีพอิสระ
“หลักสูตรผลิตนักเทคโนโลยีชีวภาพที่หลากหลายด้วยทักษะ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง กล้าคิด กล้าทำ ร่วมนำสังคม”