Change Language: ภาษาไทย
ผลงานไฮไลต์
SCI+LIFE
“เรือสำรวจขนาดพกพา” นวัตกรรมเรือบังคับวิทยุพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับวัดระดับความลึกท้องน้ำ
นวัตกรรมเรือบังคับวิทยุพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับวัดระดับความลึกท้องน้ำ เพื่อคำนวณความสามารถของแม่น้ำหรือคูคลอง ในการรองรับปริมาณน้ำ และสามารถใช้งานกรณีเกิดอุทกภัยและกรณีฝนทิ้งช่วง พร้อมแสดงผลข้อมูลแบบเรียลไทม์ (Real Time) บนสมาร์ทโฟน ผลงานนี้เป็นการบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกันระหว่าง ระบบอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิง (IoT: Internet of Things) และการจัดทำแผนที่ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เข้าด้วยกัน
มธ. คิดค้นเทคโนโลยีแผนที่แบบเรียลไทม์ ที่ระบุพิกัดประสบภัยพิบัติจากโซเชียลมีเดียได้ ช่วยบรรเทาสาธารณภัย
แผนที่แสดงตำแหน่งผู้ประสบภัยแบบเรียลไทม์ หรือแพลตฟอร์มบริการสร้างเว็บไซต์สำหรับแสดงข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จากเครือข่ายสังคมออนไลน์ (GIS with Crowdsourcing as a Service – GCaaS) พัฒนาโดยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ใช้เทคนิคด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการจัดแสดงแผนที่แสดงตำแหน่งผู้ประสบภัยและภาพข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ของพื้นที่ประสบภัย
หน้ากากอนามัย THAMMASK FOR MED ช่วยสะท้อนน้ำ – ไม่ดูดซับความชื้น
“หน้ากากผ้ากันน้ำ THAMMASK เพื่อใช้ในทางการแพทย์” หน้ากากผ้าทางเลือก ป้อนบุคลากรทางการแพทย์ โดยสาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุและสิ่งทอ ลดเสี่ยงติดเชื้อ COVID-19 ในภาวะขาดแคลน โดยมีแนวคิดในการใช้ผ้าที่มีคุณสมบัติสะท้อนน้ำ ไม่ดูดซับความชื้น ป้องกันการแพร่เชื้อ พร้อมเตรียมทดสอบความสามารถในการสะท้อนน้ำ และความคงทนของเส้นใย
คณะวิทย์ มธ. โชว์นวัตกรรม “เครื่องวัดความหวานแบบพกพา” ช่วยตรวจความเข้มข้นของน้ำตาล เกลือ และแอลกอฮอล์ได้ เล็งต่อยอดในระดับอุตสาหกรรมช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศ
มธ. และมหาวิทยาลัยทักษิณ ร่วมมือกันพัฒนา “เครื่องตรวจวัดความหวานแบบพกพา” โดยได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เพื่อลดต้นทุนการนำเข้าเครื่องมือดังกล่าวจากต่างประเทศ และสามารถขยายผลสู่ประชาชนในระดับชุมชน ชาวบ้านและผู้บริโภคทั่วไปสามารถเข้าถึงนวัตกรรมดังกล่าวได้
วิทยาศาสตร์ฯ มธ. ชูผลงานเยาวชน “ไม้เท้าอัจฉริยะ” ช่วยผู้พิการทางสายตาเดินสะดวก บอกจุดอันตราย 3 ระยะ พร้อมส่ง “เสียง - สั่น” เตือนแบบเรียลไทม์
“ไม้เท้าอัจฉริยะ” ไม้เท้าโฉมใหม่ เพื่อป้องกันอันตรายสำหรับผู้พิการทางสายตา ที่มาพร้อมเซนเซอร์บอกจุดอันตราย 3 ระดับ พร้อมส่งสัญญาณเตือนในรูปแบบของ “เสียง-สั่น” แบบเรียลไทม์ คือ แนวดิ่งระยะ 50 เซนติเมตร จะส่งเสียงเตือน หากพบสิ่งกีดขวางในระยะ 120 เซนติเมตร แนวดิ่งระยะ 100 เซนติเมตร จะส่งเสียงเตือน หากพบสิ่งกีดขวางในระยะ 100 เซนติเมตร และแนวราบบริเวณที่มีแหล่งน้ำ จะสั่นเตือนที่ด้ามจับของไม้เท้า กรณีพบแหล่งน้ำบริเวณทางเดิน
“COOL TO TOUCH” บรรจุภัณฑ์เปลี่ยนโลก คว้า GOLD PRIZE นวัตกรรมนานาชาติ 2019
“Cool to Touch” คือถ้วยและฝาปิดสำหรับใส่เครื่องดื่มร้อนที่มีอุณหภูมิตั้งแต่ 80 องศาเซลเซียสขึ้นไป ผลิตขึ้นจาก “โฟมเชิงประกอบชีวภาพ” ที่สามารถย่อยสลายได้ ซึ่งจะเป็นการปฏิวัติวงการบรรจุภัณฑ์โดยสิ้นเชิง
"โฟมยางพารา" ดูดคราบน้ำมันหายพริบตาใน 3 วินาที
โฟมมหัศจรรย์ดูดซับน้ำมันเชื้อเพลิง “พาราโวลา” เป็นนวัตกรรมจากยางพารา ในรูปแบบที่มีคุณสมบัติพิเศษสามารถกักเก็บน้ำมันได้ทุกชนิด ตั้งแต่น้ำมันปิโตรเลียม น้ำมันพืช ไปจนถึงน้ำมันสัตว์ สามารถกัก เก็บและกันน้ำมันไว้ในตัวเองโดยไม่ซึมน้ำ ทำให้พาราโวลามีน้ำหนักเบาและสามารถลอยตัวอยู่เหนือผิวน้ำได้โดยตลอด ซึ่งแตกต่างจากฟองน้ำหรือวัสดุซับน้ำมันทั่วไป
“Melmon ระบบควบคุมฟาร์มเมล่อนอัจฉริยะ” ราคา 9,000 บาท/ตร.ม ดูเรียลไทม์ผ่านแอพ
นวัตกรรมที่มีชื่อว่า “Melmon” เป็นระบบควบคุมฟาร์มเมล่อนอัจฉริยะ ผู้พัฒนางานวิจัย นี้คือ รศ.ดร.สุเพชร จิรขจรกุล อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ผศ.ดร.ธนิท เรืองรุ่งชัยกุล อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ รศ.ดร.วรภัทร ลัคนทินวงศ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่จะช่วยให้การดูแลฟาร์มเมล่อนง่ายดายมากขึ้น ผ่านทางแอพพลิเคชั่น ที่ทำงานร่วมกับ Microcontroller และ Sensor ต่างๆ เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจในการเริ่มต้นปลูกเมล่อน และสนใจเทคโนโลยี โดยสามารถลดระยะเวลาในการเข้าไปดูแลฟาร์ม ลดต้นทุนแรงงาน ควบคุมคุณภาพของผลผลิต
"A-B Block" นวัตกรรมแปรรูปตะกรันอะลูมิเนียมเป็นวัสดุตกแต่งอาคารรักษ์โลก
ผศ.ดร.เบญญา เชิดหิรัญกร สาขาเทคโนโลยีวัสดุและสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะ
ดร.พิทักษ์ เหล่ารัตนกุล (MTEC) ได้รับรางวัลเหรียญทอง ในผลงาน “A-B block” จากเวทีการประกวด Seoul International Invention Fair (SIIF 2019) ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 27 – 30 พฤศจิกายน 2562